วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ดาวเทียม

ดาวเทียมธีออส (THEOS - Thailand Earth Observation Systems) เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส โดยมีสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) ดำเนินงานร่วมกับบริษัทเอียดส์ แอสเตรียม (EADS Astrium) ประเทศฝรั่งเศส ด้วยงบประมาณ 6000 ล้านบาท
ลักษณะ Theos เป็นภาษากรีก แปลว่า พระเจ้า ดาวเทียมธีออส มีน้ำหนัก 750 กิโลกรัม มีวงโคจรสูงจากพื้นโลก 820 กิโลเมตร โคจรรอบโลกทุก 26 วัน มีกล้องถ่ายภาพ 2 กล้อง ที่ใช้ระบบซีซีดี สามารถบันทึกภาพจากการสะท้อนแสงของพื้นโลก ได้เป็นภาพขาวดำ (Panchromatic) ที่รายละเอียด 2 เมตร แต่ละภาพมีความกว้าง 22 กม. และภาพสเปกตรัม (Multispectral) ที่รายละเอียด 15 เมตร แต่ละภาพมีความกว้าง 90 กิโลเมตร มีอายุการใช้งาน 5 ปี การส่งขึ้นสู่อวกาศดาวเทียมธีออส เดิมมีกำหนดส่งขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ต่อมาได้เลื่อนกำหนดส่งเป็น 9 มกราคม พ.ศ. 2551 จากฐานปล่อยดาวเทียม เมืองไบโคนัวร์ ประเทศคาซัคสถาน โดยใช้จรวดเน็ปเปอร์ (DNEPR) ของประเทศยูเครน เป็นจรวดนำส่งสถานีรับสัญญาณสถานีรับสัญญาณดาวเทียมตั้งอยู่ที่ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร โดยมีสถานีควบคุมดาวเทียม อยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ดาวเทียมไทยคม (Thaicom) เป็นชื่อของดาวเทียมสื่อสาร ที่ดำเนินการจัดส่งขึ้นสู่วงโคจร ให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียม และบริหารโครงการโดยบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ในเครือบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยได้รับสัมปทานจากกระทรวงคมนาคม เมื่อ พ.ศ. 2534 เป็นระยะเวลา 30 ปี (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญานี้ได้ถูกโอนไปอยู่ภายใต้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)ชื่อ ไทยคม เป็นชื่อพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานมาจากคำว่า Thai Communications ในภาษาอังกฤษ

ปัจจุบัน ดาวเทียมไทยคม มีทั้งสิ้น 5 ดวงคือ

ไทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย รุ่น HS-376 สร้างโดย Huges Space Aircraft (บริษัทลูกของ โบอิง) โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก ถูกยิงขึ้นสู่วงโคจรในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 อายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2551) เดิมดาวเทียมดวงนี้อยู่ที่พิกัด 78.5 องศาตะวันออก ใช้ชื่อว่า ไทยคม 1 เมื่อย้ายมาอยู่ที่ 120 องศาตะวันออก เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540 จึงใช้ชื่อว่า ไทยคม 1A ตำแหน่ง: 0°0′N 120°0′E

ไทยคม 2 ดาวเทียมดวงที่ 2 ของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 เช่นเดียวกับ ไทยคม 1A โคจรบริเวณพิกัดที่ 78.5 องศาตะวันออก ถูกยิงขึ้นสู่วงโคจรในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 อายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2552)ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E ไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A โคจรบริเวณพิกัดเดียวกับ ไทยคม 2 คือ 78.5 องศาตะวันออก ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2540 มีพื้นที่การให้บริการ (footprint) ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 4 ทวีป สามารถให้บริการในเอเซีย, ยุโรป, ออสเตรเลียและแอฟริกา และถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน

ไทยคม 3 มีอายุการใช้งานประมาณ 14 ปี แต่ปลดระวางไปเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 เนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟฟ้า ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E

ไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ เป็นดาวเทียมรุ่น LS-1300 SX สร้างโดย Space System/Loral พาโล อัลโต สหรัฐอเมริกา เป็นดาวเทียมดวงแรกที่ออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ความเร็ว 45 Gbps เป็นดาวเทียมสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่ใหญ่ มีน้ำหนักมากที่สุด ถึง 6486 กิโลกรัม และทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน ไอพีสตาร์ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มีอายุการใช้งานประมาณ 12 ปี [1] ตำแหน่ง: 0°0′N 120°0′E

ไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A รุ่นเดียวกับไทยคม 3 สร้างโดย Alcatel Alenia Space ประเทศฝรั่งเศส มีน้ำหนัก 2800 กิโลกรัม ถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพื่อทดแทนไทยคม 3 มีพื้นที่การให้บริการครอบคลุมพื้นที่ 4 ทวีป ใช้เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV) ตำแหน่ง: 0°0′N 78°5′E

อ้างอิง -

http://th.wikipedia.org/wiki/

http://th.wikipedia.org/wiki/THEOS

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

คำศัพท์ IT 15 คำ (4921237058)

1.ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line)
เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล ที่ขนาด bandwidth สูง สำหรับสายโทรศัพท์บ้านและธุรกิจ ADSL มีข้อแตกต่าง จากโทรศัพท์ธรรมดา เนื่องจาก ADSL ให้การติดต่อแบบต่อเนื่อง โดย ADSL มีลักษณะอสมมาตร (asymmetric) จากการแบ่งช่อง ส่งข้อมูลให้การส่งไปยัง ผู้ใช้มากและมีช่องรับข้อมูลน้อย ADSL สามารถทำงานร่วมกับระบบอนาล็อก (เสียง) ในสายเดียวกัน ตามปกติ ADSL ใช้อัตราการส่งไปยังผู้ใช้ปลายทาง (downstream data rate) ตั้งแต่ S/2 Kbps ถึง 6 Mbps รูปแบบของ ADSL ที่รู้จักในชื่อ Universal ADSL หรือ glite ได้รับการกำหนดเบื้องต้นโดย ITU-TSADSL ได้รับการออกแบบให้ใช้ประโยชน์ จากการติดต่อทางเดียว สำหรับการสื่อสารแบบมัลติมีเดีย ซึ่งมีความต้องการในการส่งข้อมูล ไปผู้ใช้มาก และรับข้อมูลการควบคุม เพียงเล็กน้อย การทดลองใช้กับผู้ใช้จริงของ ADSL ในสหรัฐ ได้ทดลองในช่วง 1996 ถึง 1998 และการติดตั้งเพื่อใช้งานในสหรัฐได้เริ่มในปี 2000 ADSL ซึ่งเป็นรูปแบบ อีกแบบหนึ่งของ DSL คาดว่าจะได้รับการใช้งานโดยทั่วไปในเขตเมือง

2.Asychronous Transfer Mode (ATM)
เป็นเทคโนโลยีแบบ dedicated - connection switching ที่ จัดการข้อมูลดิจิตอล เป็นหน่วยเซลล์ขนาด 53 ไบต์ และส่งผ่านตัวกลางทางกายภาคโดยใช้เทคโนโลยีสัญญาณดิจิตอล โดยปกติเซลล์จะประมวลผล asynchronous อย่างสัมพัทธ์กับเซลล์อื่น และจัดแถวคอยก่อนการผสมความถี่ในเส้นทางการส่งผ่าน เนื่องจาก ATM ได้รับการออกแบบให้ทำงานกับฮาร์ดแวร์ได้ง่าย การประมวลเร็วกว่า และความเร็วในการสับเปลี่ยน อัตราข้อมูลเบื้องต้นอยู่ระหว่าง 155.520 ถึง 622.080 Mbps ความเร็วบนเครือข่าย ATM สามารถมีความเร็วถึง 10 Gbps พร้อมด้วย ระบบเครือข่ายแบบ Synchronous Optical และเกิดเทคโนโลยีต่าง ๆ ATM เป็นองค์ประกอบหลักของ broad band ISDN

3.Bluetooth
เป็นข้อกำหนดทางคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม ที่กำหนดการติดต่อของโทรศัพท์เครื่องที่คอมพิวเตอร์ และ personal digital assistant (PDA) ซึ่งกันและกัน และโทรศัพท์กับคอมพิวเตอร์ โดยใช้การติดต่อไร้สายแบบช่วงสั้น การใช้เทคโนโลยีนี้ทำให้ผู้โทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ เพจเจอร์ และ PDA เช่น palm pilot สามารถสร้างโทรศัพท์แบบ three-in-one ที่มีความสามารถเป็น 2 เท่า ในฐานะโทรศัพท์กระเป๋าหิ้วที่บ้าน หรือในที่ทำงาน, ปรับข้อมูล และสารสนเทศได้อย่างรวดเร็วกับเครื่องคอมพิวเตอร์, ส่งและรับโทรสาร, สั่งพิมพ์ และการเชื่อมต่ออื่น ๆ ทั้งหมดที่คอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่กันแบบตั้งโต๊ะ สามารถเชื่อมต่อกันได้เท็คโนโลยีนี้ต้องการซิป transceiver ราคาต่ำในอุปกรณ์แต่ละตัว ผลิตภัณฑ์ของเทคโนโลยี Bluetooth คาดว่าจะเริ่มใช้ใน ปี 2000

4.backbone
หมายถึงสายส่งขนาดใหญ่ ในการนำข้อมูลจากสายขนาดเล็กกว่าเพื่อการเชื่อมต่อภายใน
1. ในระดับ LAN โดย backbone เป็นสายหรือกลุ่มของสายซึ่งระบบต่อเชื่อมกับระบบ WAN หรือภายในระบบ เพื่อขยายประสิทธิภาพของระยะทาง
2. ในอินเตอร์เน็ตหรือระบบ WAN อื่น ๆ backbone เป็นกลุ่มของเส้นทางที่เครือข่ายต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อเข้ากับการเชื่อมโยงระยะไกล จุดเชื่อมต่อของเครือข่ายคือ nodes หรือ telecommunication data switching exchange (DSEs)


5.encryption
เป็นการแปลงข้อมูลเป็นรูปแบบที่เรียกว่า cipher text ซึ่งจะไม่สามารถเข้าใจได้ง่ายโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจ decryption เป็นกระบวนการของการแปลงข้อมูล encryption กลับไปเป็นรูปแบบดั้งเดิมที่สามารถอ่านเข้าใจได้การใช้ encryption / decryption เป็นศิลปะเก่าแก่ของการสื่อสาร ในสมัยสงครามรหัสลับ (cipher) สามารถทำให้เก็บรักษาเนื้อหาจากลักลอบดักฟังของศัตรู (ในทางเทคนิค code มีความหมายในการแสดงสัญญาณ โดยไม่มีการความลับ เช่น รหัสมอร์ส และ ASCII) รหัสลับ อย่างง่ายประกอบด้วยตัวแทน ตัวเลข การหมุนพยัญชนะ และการกวนสัญญาณเสียงโดยการกลับความถี่ side band รหัสลับที่ซับซ้อนเป็นไปตามอัลกอริทึมที่ทันสมัย ของคอมพิวเตอร์ที่จัดการบิตข้อมูล ในสัญญาณดิจิตอลเพื่อทำให้การฟื้นฟูเนื้อหาของสัญญาณ encrypt ได้ง่าย ซึ่ง decryption key ที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ต้องการ key เป็นอัลกอริทึม จะทำการยกเลิก "undo") งานของอัลกอริทึม encryption อีกทางเลือกคอมพิวเตอร์สามารถใช้ในการทำลาย ("break") รหัสลับ อัลกอริทึมที่ซับซ้อนของ encryption ทำให้มีความลำบากในดักฟังการสื่อสารโดยปราศจากการใช้ key

6.Fiber Distributed-Data Interface (FDDI)
เป็นมาตรฐานสำหรับการส่งข้อมูลบนสาายไฟเบอร์ออฟติค ที่สามารถขยายช่องได้ถึง 200 กิโลเมตร โปรโตคอล FDDI มีพื้นฐานจากโปรโตคอล token ring นอกจากจะใช้กับพื้นที่ขนาดใหญ่แล้ว FDDI ในเครือข่าย สามารถรองรับผู้ใช้ได้เป็นพันคน เครือข่าย FDDI มี 2 token ring โดยตัวหนึ่งเป็นตัวสำรองกรณีที่ primary ring ไม่ทำงานโดย primary ring มีความสามารถส่งข้อมูลได้ 100 Mbps ถ้าไม่ใช้ secondary ring ในการสำรองแล้วการส่งข้อมูลจะขยายเป็น 200 Mbps การใช้ชุดเดียวสามารถขยายได้เต็มระยะทาง แต่ถ้าใช้ชุดคู่การทำงานจะเป็น 100 กิโลเมตร FDDI เป็นผลิตภัณฑ์ของ America National Standards Committee X33-T9 และทำตาม Open system interconnect (OSI) model ของเลเยอร์ฟังก์ชัน ทำให้ใช้ในการเชื่อมต่อภายในของ LAN ที่ใช้โปรโตคอลอื่นได้ FDDI-II เป็นเวอร์ชันหนึ่งของ FDDI ที่เพิ่มความสามารถด้วยการเพิ่มสวิทซ์วงจรให้กับเครือข่าย ซึ่งทำให้ดูแลสัญญาณเสียงได้ และกำลังพัฒนาระบบเครือข่าย FDDI ให้ต่อเชื่อมกับเครือข่ายแบบ Synchronous Optical Network

7.Gbps
เป็นตัวย่อของพันล้านบิตต่อวินาที และใช้วัด bandwidth ในการส่งข้อมูลดิจิตอลผ่านตัวกลาง เช่น optical fiber ถ้าเป็นตัวกลางและโปรโตคอลที่ช้ากว่า bandwidth อาจจะเป็น Mbps ( ล้านบิต หรือ megabit ต่อวินาที) หรือ Kbps ( พันบิต หรือ kilobit ต่อวินาที)

8.host
ความหมายหลายลักษณะซึ่งแตกต่างกันเล็กน้อย
1. บนอินเตอร์เน็ต คำว่า host หมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเข้าถึงแบบสองทาง (two way access) อย่างเดิมที่ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในอินเตอร์เน็ต host มีการเจาะจงด้วยหมายเลขของ local หรือ host พร้อมกับหมายเลขของเครือข่ายในรูปของ IP address แบบไม่ซ้ำ ถ้าใช้การติดต่อโปรโตคอลแบบ point-to-point ไปยังผู้ให้บริการ เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมี IP address แบบไม่ซ้ำ ตลอดช่วงการติดต่อในครั้งนั้นกับอินเตอร์เน็ต ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องดังกล่าวมีฐานะเป็น host ในระยะเวลานั้น ดังนั้น host จึงเป็น node ในเครือข่าย
2. ใน IBM และระบบคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม host คือเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรมทำให้ความหมายนี้คือ เครื่องเมนเฟรมมีเครื่องลูกข่ายที่ติดต่อและการใช้บริการจาก host
3. ในความหมายอื่น ๆ คำนี้โดยทั่วไปหมายถึงอุปกรณ์หรือโปรแกรม ที่เป็นผู้ให้บริการกับอุปกรณ์ หรือโปรแกรมที่มีความสามารถต่ำกว่า


9.Internet Message Access Protocol (IMAP)
เป็นมาตรฐานโปรโตคอล สำหรับการเข้าถึง e-mail จากเครื่อง local service โดย IMAP เป็นโปรโตคอลแบบ client/service ซึ่ง e-mail จะได้รับและเก็บไว้ในเครื่องแม่ข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถดูหัวข้อ และผู้ส่งของจดหมายแล้ว จึงตัดสินใจดาวน์โหลด ผู้ใช้สามารสร้างและควบคุมโฟลเดอร์ หรือ mail box บนเครื่องแม่ข่าย ลบจดหมายหรือค้นหา IMAP ต้องการเข้าถึงแม่ข่ายอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาการใช้ e-mail

10.interface
มีความหมายดังนี้
1. user interface ประกอบด้วยคำสั่งของระบบปฏิบัติการ รูปแบบการแสดงกราฟฟิคและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมยินยอมให้ผู้ใช้ติดต่อ ส่วนคำว่า graphic user interface (GUI) เป็นการให้ผู้ใช้สามารถติดต่อผ่านภาพ (graphic - oriented) ตามปกติ GUI สามารถสร้างความคุ้นเคยในการติดต่อกับระบบคอมพิวเตอร์
2. programming interface ประกอบด้วยกลุ่มของคำสั่ง ฟังก์ชัน ตัวเลือก และวิธีต่าง ๆ ในการแสดงคำแนะนำ และการให้ข้อมูลโดยโปรแกรมหรือภาษาของโปรแกรมไปยังผู้ใช้
3. ด้านกายภาพและตรรกะ ในการจัดการสนับสนุนของอุปกรณ์เพื่อต่อกับอุปกรณ์อื่น


11.interrupt
เป็นสัญญาณจากอุปกรณ์ที่ต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือรูปแบบโปรแกรมภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำให้โปรแกรมหลักซึ่งควบคุมเครื่องพิวเตอร์ (ระบบปฏิบัติการ) หยุดและมีข่าวสารให้ทำอะไรต่อไป เครื่องคอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมดในปัจจุบัน เป็นระบบ Interrupt - driven (ระบบ Interrupt driven เริ่มทำงานตามรายการคำสั่งต่อไปจนกระทั่ง 1) ไม่สามารถไปไหนอีกแล้ว 2) เมื่อสัญญาณ Interrupt ถูกส่งออกมา) ภายหลังสัญญาณ Interrupt ถูกส่งออกมา คอมพิวเตอร์กลับมาทำงานต่อไปใหม่ โดยให้โปรแกรมทำงานต่อไป หรือให้โปรแกรมอื่นเริ่มต้นทำงาน

12.plug-in application
เป็นโปรแกรมที่ทำให้ติดตั้งได้ง่ายและใช้เป็นส่วนหนึ่งของ web brower ของผู้ใช้ จุดเริ่มต้นมาจาก Netscape browser ยอมให้ผู้ใช้ดาวน์โหลด ติดตั้งและกำหนดโปรแกรมพิเศษ ที่ใช้เล่นเสียง ภาพเคลื่อนไหว หรือการทำงานกับฟังก์ชัน สิ่งเหล่านี้เรียกว่า help application อย่างไรก็ตาม การประยุกต์นี้ทำงานในลักษณะ แยกการใช้งาน และต้องการ window ที่สองเปิดขึ้น plug-in application จะได้รับการรับรู้โดยอัตโนมัติ จาก browser และฟังก์ชันที่รวมอยู่ไฟล์ HTML หลักที่กำลังแสดงผล

13.Synchronous Optical Network (SONET)
เป็นมาตรฐานสหรัฐ สำหรับการส่งข้อมูลแบบ synchronous กับตัวกลาง optical มาตรฐานสากล เทียบเท่ากับ SONET คือ Synchronous Digital Hierarchy (SDH) โดยมีการทำให้มั่นใจว่ามาตรฐาน สำหรับเครือข่ายดิจิตอลสามารถติดต่อภายในแบบสากล และระบบการส่งผ่านแบบดั้งเดิม สามารถได้รับประโยชน์จากตัวกลาง opticalSONET ให้มาตรฐานสำหรับจำนวนของ line rate ได้ถึงอัตราสูงสุด 9.953 gigabit ต่อวินาที (Gbps) และมีความเป็นไปได้ในเพิ่ม line rate เป็น 20 Gbps SONET ได้รับการพิจารณาเป็นพื้นฐานของเลเยอร์ระดับ physical layor ของ broadband ISDN (Broad bard Integrated Service Digital Network)asynchronous transfer mode (ATM) ทำงานบนชั้นบนสุดของและชั้นบนสุดของเทคโนโลยีอื่น SONET กำหนดพื้นฐานของ 51.84 Mbps และกลุ่มของอัตราพื้นฐานหลายอัตรา รู้จักในชื่อ "Optical Carrier levels (OCx)"

14.TDM (time-division multiplexing)
เป็นแบบแผนในการรวมสัญญาณ สำหรับการส่งผ่านบนช่องสัญญาณ หรือสายการสื่อสารเดี่ยว แต่ละสัญญาณจะถูกแยกเป็นหลาย segment ขนาดเล็ก
วงจรรวมสัญญาณ ที่ปลายด้านต้นทางของการสื่อสารเชื่อมโยง คือ Multiplexer ซึ่งจะยอมรับข้อมูลนำเข้าจากผู้ใช้อิสระ แล้วแยกแต่ละสัญญาณเป็น segment จากนั้นกำหนด segment ให้เป็นสัญญาณ composite ด้วยลำดับแบบหมุนวนและซ้ำ สัญญาณ composite ที่เก็บข้อมูลทั้งหมดจากผู้ใช้ที่ demultiplexer และเส้นทางที่ไปยังผู้ใช้ปลายทาง วงจรการสื่อสาร 2 ทาง ต้องการ multiplexer/ demultiplexer ที่จุดปลายแต่ละจุด
ถ้ามีสัญญาณจำนวนมาก ต้องส่งผ่านสายเดี่ยวระยะไกล ความระมัดระวังด้านวิศวกรรมมีความจำเป็น เพื่อทำให้มั่นใจว่าระบบทำงานได้ตามปกติ ประโยชน์ของ TDM คือ ความยืดหยุ่น โดยมีแบบแผนที่ยอมให้ สำหรับความหลากหลายในจำนวนของสัญญาณ ที่ส่งผ่านสาย และปรับช่องเวลาเสมอ เพื่อทำให้การใช้มีความเหมาะสมกับ bandwidth ที่มี อินเตอร์เน็ตเป็นตัวอย่างที่ดี ของเครือข่ายการสื่อสาร ที่ปริมาณของ traffic สามารถเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ในบางระบบแบบแผนที่ต่างกันคือ frequency-division multiplexing มีความเหมาะสม

15.topology
เป็นการอธิบายชนิดของตำแหน่งในความหมายด้านผังทางกายภาค ในความหมายของเครือข่ายการสื่อสาร topology เป็นการอธิบายภาพของคอนฟิกหรือการจัดการของระบบเครือข่ายรวมถึง mode และสายเชื่อม

แหล่งที่มา - http://www.widebase.net/knowledge/itterm/it_term_menu.php?term_group=W